วันนี้จะขอพูดถึง Traditional PR และ Digital PR ความหมายของ 2 คำนี้ก็แปลตามตัวกันเลยค่ะ คือ Traditional PR คือการทำพีอาร์แบบดั้งเดิมและเป็น one way communication หรือการสื่อสารทางเดียว ส่วน Digital PR คือการทำพีอาร์ในยุคดิจิทัลและเป็นการสื่อสารแบบ two way communication แต่อย่างไรก็ตามหัวใจหลักของการทำพีอาร์ ไม่ว่าจะเป็น Traditional PR หรือ Digital PR ก็ยังเหมือนเดิม นั่นคือ การไม่ใช้เงินจ่ายค่า Media และพีอาร์ไม่สามารคอนโทรลพื้นข่าวหรือ content ได้ 100% บางคนอาจคิดว่าแล้วเราจะทำยังไงล่ะ ในเมื่อส่วนใหญ่โลกออนไลน์มีแต่ Paid Media ในฐานะที่คนเขียนก็ทำงานด้าน Digital PR อยากจะขอแชร์ประสบการณ์ไว้ดังนี้ การทำ Digital PR ต้องทำให้เกิด Earn Media ด้วยการทำ Owned Media และด้วย Relationship ทั้งกับสื่อ, Blogger และ Influencer เพื่อให้เกิด Reputation ต่อแบรนด์หรือต่อบุคคลที่เราพีอาร์ให้
นอกจากนี้การทำ Digital PR ยังต้องทำให้ลึกถึงการทำ SEO ทั้งแบบ on page และ off page เพื่อให้ข่าวหรือ content ของเราติดอันดับใน google ถ้าให้ดีควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แบรนด์หรือบุคคลที่เราทำพีอาร์ยังคงติดอันดับเมื่อ search หาข้อมูล (ครั้งต่อไปผู้เขียนจะหยิบตัวอย่าง Press Release ที่ทำ SEO แบบ on page มาให้ผู้อ่านได้ดูเป็นตัวอย่างกันค่ะ)
ในส่วนของการวัดค่าพีอาร์ แบบ Digital PR ก็มีความต่างกับ Traditional PR เป็นอย่างมาก แบบดั้งเดิมเราจะวัดกันที่ Value โดยการนำ Ad Value มาเป็นตัวตั้งค่า แต่การวัดแบบ Digital PR เราจะวัดกันแบบ Metric โดยผู้เขียนได้แบ่งการวัดตาม Objective ของการทำ Digital PR
**มีข้อสงสัย e-mail มาถามได้นะคะ**